หน้าเว็บ

MV เพลง

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เงียบไปซะนานกับการเขียน Diary เริ่มกันที่ ACM ICPC แล้วกัน

ห่างไปนานกับการบันทึกสิ่งดีๆลงใน Diary นี้ผ่านมาเกือบปีได้แระ วันนี้เป็นวันที่เราได้มาอบรมการเกี่ยวกับการแข่งขันเขียนโปรแกรมระดับภาคใต้ ACM ICPC  ที่หาดใหญ่ ซึ่งปีนี้ก็ถือเป็นครั้งที่ 2 แระที่ได้มาทำอะไรแบบนี้ วันแรกของการอบรมเป็นอะไรที่มึนมากๆๆ คนสอนๆภาษา C แต่เราเด็ก ม.อ.ตรัง เขียนเป็นแต่ java งานนี้มาเรียนก็เหมือนไม่ได้เรียน ถึงยังงัยก็คุ้มที่ได้มา เพราะได้กินฟรีนอนสบาย คุ้มอะ ต้องอยู่ที่ ม.อ.หาดใหญ่ 4 วัน 3 คืน รถก็ไม่มีให้ขับ จะเที่ยวเห็นทีจะยากอิอิ เบื่อแน่ๆงานนี้ ถึงยังงัยก็สู้ๆ แต่ตอนนี้ง่วงแระคราบ ไปนอนก่อนแระ ฝันดีคับชาวโลก

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

Hatyal Ice DoMe














รูปถ่ายเล่นๆ benmaster ^_^

วิธีการพัฒนาอันดับผลการค้นหาเว็บไซต์ของคุณใน google ขั้นตอนแรก

วิธีการพัฒนาอันดับผลการค้นหาเว็บไซต์ของคุณใน google ขั้นตอนแรก

       คุณต้องทำการตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของคุณอยู่ในฐานข้อมูลของ google หรือไม่ ในกรณีที่คุณสร้างเว็บไซต์เสร็จสิ้น คุณควรลงทะเบียนเว็บไซต์ใน google ให้รวดเร็วที่สุด เนื่องจากต้องใช้เวลาในการลงทะเบียนประมาณ 1 เดือน กว่าที่เว็บไซต์ของคุณจะสามารถปรากฏใน ผลการค้นหาเว็บไซต์ของ google ได้ ระยะเวลา 1 เดือนเป็นเพียงการประเมินเท่านั้น ในความเป็นจริงอาจจะใช้เวลามากหรือน้อยกว่า 1 เดือนก็เป็นได้ และถ้าหากคุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณปรากฏอยู่ในผลการค้นหาเว็บไซต์ของ google เร็วขึ้น คุณสามารถทำได้โดยเพิ่มลิงค์ของเว็บไซต์คุณในเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง เพราะเว็บไซต์เหล่านี้จะมี Googlebot เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ Googlebot เป็น robot-script ขนาดเล็ก โดยมีหน้าที่ค้นหาข้อมูลในหน้าเว็บไซต์ และ robot-script ของแต่ละ Search Engine ก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น spider, bot หรือ crawler เป็นต้น

          spider ของ google มีชื่อเรียกว่า Googlebot ซึ่ง bot ก็จะมีหลายประเภทอีกเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น freshbot ของ google เป็นต้น freshbot จะเข้ามาในเว็บไซต์ของคุณทุกครั้งเมื่อคุณทำการปรับปรุงเว็บไซต์ ประโยชน์ของการเข้ามาค้นหาเว็บไซต์ของ freshbot ก็คือ สิ่งที่คุณทำการปรับปรุงจะปรากฏในการแสดงผลการค้นหาเว็บไซต์ของ Search Engine อย่างรวดเร็วแบบวันต่อวัน ถ้าคุณสามารถเพิ่มจำนวนลิงค์ของเว็บไซต์คุณได้มากขึ้น Googlebot ก็จะเข้ามาตรวจสอบเว็บไซต์คุณมากขึ้น โอกาสที่เว็บไซต์ของคุณจะเข้าไปอยู่ในฐานข้อมูลของ google ภายใน 24 ชั่วโมงก็ย่อมมีมากขึ้นเช่นเดียวกัน

           หากคุณต้องการที่จะทราบว่า freshbot เข้ามาค้นหาเว็บไซต์คุณครั้งสุดท้ายเมื่อใด คุณก็สามารถทำได้โดยทำการค้นหาที่อยู่ของเว็บไซต์คุณ (www.yourname.com) ใน google เมื่อผลการค้นหาเว็บไซต์ปรากฏขึ้น ให้คลิกที่ "ที่ google เก็บ ไว้" ด้านบนของหน้าเว็บไซต์ต่อมาที่ปรากฏขึ้นจะจัดแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับวัน เดือน ปี และเวลาของการค้นหาเว็บไซต์ของคุณครั้งล่าสุด การแลกเปลี่ยนลิงค์กับเว็บไซต์พันธมิตร คุณต้องทำการตรวจสอบ PageRank ของเว็บไซต์พันธมิตรด้วย เพราะถ้าหากคุณแลกเปลี่ยนลิงค์กับเว็บไซต์พันธมิตรที่มี PageRank สูง PageRank ของเว็บไซต์คุณก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม หากคุณแลกเปลี่ยนลิงค์กับเว็บไซต์พันธมิตรที่มีอันดับ PageRank ต่ำมาก PageRank ของเว็บไซต์คุณก็อาจจะลดลงได้ ลักษณะการแลกเปลี่ยนลิงค์ในลักษณะที่ 2 เรียกว่า "bad neighborhood"

         หน้าเว็บไซต์ที่เหมาะสมกับหลักการทำงานของ google
ถ้าคุณสามารถเพิ่มจำนวนลิงค์ของเว็บไซต์คุณได้มากขึ้น Googlebot ก็จะเข้าค้นหาเว็บไซต์คุณเพิ่มขึ้นด้วย Googlebot จะทำการค้นหาเว็บไซต์โดยเข้ามาตรวจสอบองค์ประกอบของเว็บไซต์ดังต่อไปนี้:

* Page title
* คำอธิบาย meta tag
* เนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์
* ลิงค์

         องค์ประกอบของเว็บไซต์ดังที่กล่าวมาถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างมากของเว็บไซต์คุณ เพราะองค์ประกอบดังกล่าวได้บรรจุ keywords คุณไว้นั่นเอง อุปสรรค สำคัญประการหนึ่ง ก็คือ คีย์เวิร์ดหรือคำค้นหาเว็บไซต์นั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น คุณจึงต้องมีความละเอียด และรอบคอบอย่างมากสำหรับการคัดเลือก และคัดสรร keywords ให้กับเว็บไซต์ของคุณเอง คุณจะต้องทำการคัดเลือกและคัดสรรแต่ละ keyword ที่ จะนำมาใช้ให้กับเว็บไซต์ของคุณให้ดีที่สุด วิธีการง่ายๆ ก็คือ ลองสมมุติว่าตนเองเป็นผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต แล้วลองคิดดูว่า คุณจะใช้ keyword ใดในการค้นหาเว็บไซต์
title
        คุณต้องทำการตรวจสอบให้มั่นใจว่า คุณได้เลือกใช้ keywords ที่ดีที่สุดเพื่อใช้เป็น title ของเว็บไซต์แล้ว และไม่ควรให้ title มีความยาวเกิน 80 ตัวอักษร เนื่องจาก Search Engine บางที่อาจทำการยกเลิกการลงทะเบียนเว็บไซต์ของคุณได้

คำอธิบาย meta tag
            Googlebot จะไม่เข้ามาตรวจสอบคีย์เวิร์ดของ meta tag แต่จะตรวจสอบคำอธิบายของ meta tag ดังนั้น คุณต้องทำการตรวจสอบให้มั่นใจว่า คุณได้เลือกใช้ keywords ที่ดีที่สุดเพื่อใช้เป็นคำอธิบายของ meta tag ให้กับเว็บไซต์ของคุณ
เนื้อหาทั้งหมดของเว็บไซต์
           คุณต้องทำการตรวจสอบให้มั่นใจว่า คุณได้เลือกใช้ keywords ที่ดีที่สุดเพื่อใช้เป็นเนื้อหาของเว็บไซต์คุณ เพราะการใช้ keyword ที่คัดเลือกมาเป็นชื่อเรื่อง และเนื้อหา การใช้ตัวอักษรหนา หรือเอียงเพื่อเน้น keywords คำบรรยายภาพ ชื่อรูปภาพ ชื่อที่อยู่ของเว็บไซต์ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการทำงานของ Googlebot ทั้งสิ้น
ลิงค์ภายในเว็บไซต์
          คุณต้องทำการตรวจสอบให้มั่นใจว่า Googlebot จะสามารถเข้ามาตรวจสอบเว็บไซต์ของคุณได้อย่างแน่นอน เนื่องจาก Googlebot อาจจะไม่สามารถเข้ามาค้นหาเว็บไซต์ของคุณได้ เนื่องจากสาเหตุบางประการ เช่น การใช้เฟรม คุณสามารถแก้ปัญหานี้ด้วยการใช้คำสั่ง หรือใช้แผนที่เว็บไซต์ (sitemap) เพื่อให้ Googlebot สามารถเข้ามาตรวจสอบในทุกๆหน้าของเว็บไซต์คุณได้

            เทคนิคพิเศษในการขึ้นอันดับ : เราแนะนำให้คุณมี link เพื่อกลับไปที่หน้าแรกของเว็บไซต์ และคุณควรใส่ link เป็น www.yourname.com และเราไม่แนะนำให้คุณใส่ www.yourname.com/index.html เนื่องจากสิ่งนี้มีผลในการขึ้นอันดับของ google Search Engine

             เนื้อหา : ปรับปรุงเนื้อหาของเว็บไซต์ให้มากครั้งที่สุดเท่าที่จะทำได้ การปรับปรุงเนื้อหาของเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ freshbot เข้ามาค้นหาเว็บไซต์คุณบ่อยครั้งขึ้น เนื่องจาก google Search Engine จะทำการเก็บข้อมูลของหน้าเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง ได้ไวกว่าหน้าเว็บไซต์อื่นที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย

            วิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนอกจากเป็นวิธีที่ช่วยให้ PageRank ของเว็บไซต์คุณเพิ่มขึ้น และทำให้เว็บไซต์ของคุณอยู่ในอันดับต้นๆ ของการแสดงผลการค้นหาเว็บไซต์ใน Search Engine ต่างๆ แล้ว ยังสามารถช่วยเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณได้อีกด้วย
สำหรับความหมายของ PageRank นั้นสามารถดูได้ที่นี่ http://truehits.net/faq/webmaster/seo/page_rank.php ค่าของ PageRank สามาดูได้เมื่อเราติดตั้ง google toolbar หรือถ้าไม่ติด google toolbar ก็สามารถดูได้จากที่นี่ http://www.pagerank.net/ และที่นี่ http://pagerank.narak.com/ ลองทำและปรับปรุงกันดูนะครับเพื่อว่าจะเป็นที่รู้จักของคนดังเพิ่มขึ้น

Design Web Graphics (ออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์)

รูปแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ (GIF , JPG และ  PNG)

     *  GIF  ย่อมาจาก  Graphic  Interchange  Format
          - ได้รับความนิยมในยุคแรก
          - มีระบบสีแบบ Index ซึ่งมีข้อมูลสีขนาด 8 บิต ทำให้มีสีมากกว่า 256 สี
          - มีการบีบอัดข้อมูลตามแนวนอนของพิกเซล   เหมาะสำหรับกราฟฟิกที่ประกอบด้วยสีพื้น

     *  JPG  ย่อมาจาก  Joint  Photogtaphic  Experts  Group
          - มีข้อมูลสีขนาด 24 บิต (True Color)  สามารถแสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี
          - ใช้ระบบการบีบอัดที่มีลักษณะที่สูญเสีย (lossy)
          - ไฟล์ประเภทนี้ควรนำไปใช้กับรูปถ่ายหรือกราฟฟิกที่มีการไล่ระดับสีอย่าง ละเอียด

     *  PNG  ย่อมาจาก  Portable  Network  Graphic   สามารถสนับสนุนระบบสีได้ทั้ง 8 บิต 16 บิต และ 24 บิต   มีระบบการบีบอัดแบบ Deflate ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย (lossless) มีระบบการควบคุมค่าแกมม่า (Gamma)  และความโปร่งใส (Transparency) ในตัวเอง


ระบบการวัดขนาดของรูปภาพ

     รูปภาพที่ใช้หน่วยวัดขนาดตามหน้าจอมอนิเตอร์   นั่นก็คือหน่วยพิกเซล   ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบขนาดของกราฟฟิกหับองค์ประกอบอื่น ๆ ในหน้าเว็บ   รวมถึงขนาดของหน้าต่างเบราเซอร์ด้วย

ระบบการวัดความละเอียดของรูปภาพ

     * ระบบความละเอียดของรูปภาพที่แสดงผลบนจอมอนิเตอร์ควรใช้หน่วย pixel per inch (ppi)
     * แต่ในทางการใช้งานจะนำหน่วย dot per inch (dpi) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความละเอียดของสิ่งพิมพ์มาใช้งานแทน ppi
     * ความละเอียดของรูปภาพที่ใช้ในเว็บไซต์ควรมีความละเอียดแค่ 72 ppi ก็เพียงพอแล้ว

โปรแกรมกราฟฟิกสำหรับเว็บ

     * ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายประเภททีนำมาใช้ในการสร้างกราฟฟิกสำหรับเว็บ
          - Adobe   PhotoShop
          - Adobe  ImangeReady
          - Firework    
     * ค่าพื้นฐานที่สามารถเลือกปรับได้คือ  รูปแบบไฟล์ชุดสีที่ใช้ ,  จำนวนสีระดัความสูญเสียความโปร่งใส และสีพื้นหลัง

คำแนะนำในกระบวนการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเว็บ

     * ออกแบบกราฟฟิกโดยใช้ชุดสีสำหรับเว็บ (Web  Palette)
     * เลือกใช้รูปแบบกราฟฟิกที่เหมาะสม GIF หรือ JPEG
     * ตัดแบ่งกราฟฟิกออกเป็นส่วนย่อย (Slices)

Designing Web Colors (เลือกใช้สีเว็บไซต์)

เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
          - สีสันในเว็บเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้   เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็น จากเว็บก็คือสี   ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์
          - เราสามารถใช้สีกับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ   ตั้งแต่รูปภาพ  ตัวอักษร   สีพื้นหลัง   การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
          - การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร   บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
          - การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน
          - การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
          - สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้   เช่น  ข้อมูลใหม่   หรือโปรโมชั่นพิเศษ
          - สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
          - สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากกัน
          - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสามารถของผู้อ่าน
          - สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
          - ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
          - สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ    

การผสมสี (Color  Mixing)   มี 2 แบบ
          1. การผสมแบบบวก (Additive  mixing)  จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง   ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ   สามารถนำไปใช้ในสื่อใด ๆ ที่ใช้แสงส่องออกมา เช่น จอโปรเจคเตอร์  ทีวี 
          2. การผสมแบบลบ (Subtractive  mixing)  การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง   แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่าง ๆ    สามารถนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาดของศิลปิน   รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี
          -   ความเป็นระเบียบของสี   ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสมดุล   และความสวยงามในเวลาเดียวกัน
               *การใช้สีที่จืดชืดเกินไป  จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อ  และไม่สามารถดึงดูดความสนใจจาก ผู้ชมได้
               * การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย   ขาดระเบียบ  และอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม
          -   เป้าหมายในเรื่องสี    คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย      น่าสนใจ
และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple  Color  Schemes)
          1.  ชุดสีร้อน (Warm  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า , ฟ้าเงินแกมเขียว  และสีเขียว   โดยจะให้ความรู้สึกเย็นสบาย   องค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพ   เรียบร้อย
          2.  ชุดสีแบบเดียว  (Monochromatic  Color  Scheme)    เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด   คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว   แต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้ม  อ่อนในระดับต่าง ๆ    และชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว   แต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวา   เพราะขาดความหลากหลายของสี
          3.  ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่ติดอยู่กันในวงล้อ   สามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ 5 สีได้   แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
          4.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split  Complementary  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น   แต่จะมีผลให้ความสดใส  ความสะดุดตา  และความเข้ากันของสีลดลงด้วย
          5.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double  Split  Complementary  Color  Scheme) ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกัน   แต่สีตรงข้ามทั้ง 2 สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง  2 ด้าน   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้น   แต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง
          6.  ชุดสีเย็น (Cool  Color  Scheme)  เว็บเพจที่ใช้โทนสีเย็น   ให้บรรยากาศคล้ายทะเล  รู้สึกเย็นสบาย
          7.  ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม   ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากัน   จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
          8.  ชุดสีตรงข้าม (Complementary  Color  Scheme)  คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี   เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กัน   จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น

Dsign for a variety of Web Environments (การออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม)

ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการท่องเว็บไซต์
     1.   เบราเซอร์ที่ใช้  

          - เบราเซอร์คือโปรแกรมที่ใช้เรียกดูเว็บเพจ   โดยสามารถแสดงผลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษร ,
รูปภาพ   และภาพเคลื่อนไหว
          - มีเบราเซอร์หลายชนิดที่ได้รับความนิยม  เช่น
               * Internet   Explorer
               * Netscape   Navigator
               * Opera
               * Mozilla Firefox
               - การออกแบบเว็บไซต์ตามคุณสมบัติของเบราเซอร์
               * เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์ทุกร่น
               * เว็บไซต์สำหรับเบราเซอร์รุ่นล่าสุด
               * เว็บไซต์ตามความสามารถของเบราเซอร์
               * เว็บไซต์ที่มีหลายรูปแบบ
     2.   ระบบปฏิบัติการ (Operating  System) 
          - ระบบปฏิบัติการเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเบราเซอร์มาก   โดยแต่ละระบบปฏิบัติการจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของชนิดและรุ่นของ เบราเซอร์ที่ใช้ได้ , ระดับความละเอียดของหน้าจอ , ชุดสีของระบบ   และชนิดของตัวอักษรที่มาพร้อมกับระบบ   เป็นต้น
               * การแสดงผลของ windows จะมีขนาดใหญ่กว่า Mac เล็กน้อย
               * ความสว่างของหน้าจอบน Mac จะมากกว่า Windows และ Unix
     3.   ความละเอียดของหน้าจอ
          - ขนาดของจอมอนิเตอร์มีหลายขนาด เช่น 15",17",21" และอื่น ๆ
          - ความละเอียดของหน้าจอ (monitor resolution) มีหน่วยเป็น Pixel
               * ความละเอียด 640 x 480 หมายถึง หน้าจอมีจุดพิกเซลเรียงตัวตามแนวนอน 640 พิกเซล และตามแนวตั้ง 480 พิกเซล
          - ความละเอียดของหน้าจอจะไม่ขึ้นกับบขนาดของมอนิเตอร์ที่ใช้    แต่จะขึ้นกับประสิทธิภาพของการ์ดแสดงผลว่าสามารถทำได้ละเอียดแค่ไหน
               * EX: จอขนาด 17"  สามารถตั้งค่าความละเอียดได้ตั้งแต่ 640 x 480 จนถึง 1600x1200 เป็นต้น
    
     4.   จำนวนสีที่จอของผู้ใช้สามารถแสดงได้
          - มอนิเตอร์ที่สามารถแสดงสีที่แตกต่างกัน   ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการ์ดจอ (video card)
          - จำนวนหน่วยความจำในการ์ดจอ (video memory) ทีมากขึ้นจะทำให้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น
          - จำนวนสีที่การ์ดจอสามารถ แสดงได้นั้น   ขึ้นอยู่กับค่าความละเอียดของสีที่เรียกว่า bit depth หรือ color depth ซึ่งก็คือจำนวนบิตที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแต่ละพิกเซล
    
          - ชุดสีสำหรับเว็บ (Web Palette) หมายถึงชุดสีจำนวน 216 สีที่มีอยู่เหมือนกันในระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac
          - ปัจจุบัน Web Palette มีความสำคัญลดน้อยลง   เนื่องจากจอของผู้ใช้สามารถแสดงสีได้มากขึ้น   แต่ใน tool ต่าง ๆ เช่น Dreamweaver ก็ยังเห็นชุดสีเหล่านี้ปรากฏอยู่

    
5.   ชนิดของตัวอักษรที่มีอยู่ในเครื่องของผู้ใช้

          - MS  Sans  Serif  VS  Microsoft  Sans  Serif
               * MS   Sans Serif เป็นฟอนต์แบบบิตแมพ (bitmapped  font )  ที่ออกแบบขึ้นจากจุดของพิกเซล   โดยมีการออกแบบแต่ละตัวอักษรไว้เป็นขนาดที่แน่นอน
               * Microsoft  Sans  font   เป็นฟอนต์ที่มีโครงสร้างของอักขระเป็นแบบเวคเตอร์หรือลายเส้น (vector  font)  โดยมีการออกแบบเอาท์ไลน์ไว้เพียงแบบเดียว   แต่สามารถปรับขนาดได้อย่างไม่จำกัด
          - ตัวอักษรแบบกราฟิก (Graphic  Text)
         

        ข้อดี
               * สามารถกำหนดลักษณะของตัวอักษรได้อย่างแน่นอน   ทั้งชนิด   ขนาด   สี
               *ผู้ชมทุกคนจะมองเห็นตัวอักษรได้เหมือนกัน  โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวอักษรชนิด นั้นติดตั้งไว้ใน เครื่อง
               * สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเว็บได้จากรูปแบบของตัวอักษร
          ข้อเสีย
               * ใช้เวลาในการ download มากกว่า
               * ลำบากในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลง
               * ข้อความที่เป็นกราฟิกจะไม่สามารถค้นหาได้ด้วย search engine