หน้าเว็บ

MV เพลง

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

Designing Web Colors (เลือกใช้สีเว็บไซต์)

เลือกใช้สีสำหรับเว็บไซต์
          - สีสันในเว็บเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้   เนื่องจากสิ่งแรกที่ผู้ใช้มองเห็น จากเว็บก็คือสี   ซึ่งเป็นสิ่งกำหนดบรรยากาศและความรู้สึกของเว็บไซต์
          - เราสามารถใช้สีกับทุกองค์ประกอบของเว็บเพจ   ตั้งแต่รูปภาพ  ตัวอักษร   สีพื้นหลัง   การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยในการสื่อความหมายของเนื้อหา
          - การใช้สีพื้นใกล้เคียงกับสีตัวอักษร   บางครั้งอาจสร้างความลำบากในการอ่าน
          - การใช้สีที่มากเกินความจำเป็นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่าน
          - การใช้สีที่กลมกลืนกันช่วยให้เว็บไซต์น่าดูชมมากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของสีในเว็บไซต์
          - สามารถชักนำสายตาผู้อ่านให้ไปยังทุกบริเวณในหน้าเว็บเพจที่เราต้องการได้   เช่น  ข้อมูลใหม่   หรือโปรโมชั่นพิเศษ
          - สีช่วยเชื่อมโยงบริเวณที่ได้รับการออกแบบเข้าด้วยกัน
          - สีสามารถนำไปใช้ในการแบ่งบริเวณต่าง ๆ ออกจากกัน
          - สีสามารถใช้ในการดึงดูดความสามารถของผู้อ่าน
          - สีสามารถสร้างอารมณ์โดยรวมของเว็บเพจ
          - ช่วยสร้างระเบียบให้กับข้อความต่าง ๆ เช่น ใช้สีแยกระหว่างหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง
          - สามารถส่งเสริมเอกลักษณ์ขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ    

การผสมสี (Color  Mixing)   มี 2 แบบ
          1. การผสมแบบบวก (Additive  mixing)  จะเป็นรูปแบบการผสมของแสง   ไม่ใช่การผสมของวัตถุที่มีสีบนกระดาษ   สามารถนำไปใช้ในสื่อใด ๆ ที่ใช้แสงส่องออกมา เช่น จอโปรเจคเตอร์  ทีวี 
          2. การผสมแบบลบ (Subtractive  mixing)  การผสมสีแบบนี้ไม่เกี่ยวข้องกับแสง   แต่เกี่ยวเนื่องกับการดูดกลืนและสะท้อนแสงของวัตถุต่าง ๆ    สามารถนำไปใช้ในสื่อที่เกี่ยวข้องกับการใช้วัตถุมีสี เช่น ภาพวาดของศิลปิน   รูปปั้น หรือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

ความกลมกลืนของสี
          -   ความเป็นระเบียบของสี   ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความสมดุล   และความสวยงามในเวลาเดียวกัน
               *การใช้สีที่จืดชืดเกินไป  จะทำให้เกิดความรู้สึกที่น่าเบื่อ  และไม่สามารถดึงดูดความสนใจจาก ผู้ชมได้
               * การใช้สีที่มากเกินไป ก็จะดูวุ่นวาย   ขาดระเบียบ  และอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ชม
          -   เป้าหมายในเรื่องสี    คือการนำเสนอเว็บไซต์โดยใช้ชุดสีในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย      น่าสนใจ
และสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม

รูปแบบชุดสีพื้นฐาน (Simple  Color  Schemes)
          1.  ชุดสีร้อน (Warm  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสีม่วง , น้ำเงิน , น้ำเงินอ่อน , ฟ้า , ฟ้าเงินแกมเขียว  และสีเขียว   โดยจะให้ความรู้สึกเย็นสบาย   องค์ประกอบที่ใช้สีเย็นจะดูสุภาพ   เรียบร้อย
          2.  ชุดสีแบบเดียว  (Monochromatic  Color  Scheme)    เป็นรูปแบบชุดสีที่ง่ายที่สุด   คือมีค่าของสีบริสุทธิ์เพียงสีเดียว   แต่เพิ่มความหลากหลายโดยการเพิ่มความเข้ม  อ่อนในระดับต่าง ๆ    และชุดสีแบบนี้ค่อนข้างจะมีความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว   แต่ในบางครั้งอาจทำให้ดูไม่มีชีวิตชีวา   เพราะขาดความหลากหลายของสี
          3.  ชุดสีที่คล้ายคลึงกัน (Analogous  Color  Scheme)  ประกอบด้วยสี 2 หรือ 3 สีที่ติดอยู่กันในวงล้อ   สามารถเพิ่มเป็น 4 หรือ 5 สีได้   แต่อาจส่งผลให้ขอบเขตของสีกว้างไป
          4.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียง (Split  Complementary  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่เปลี่ยนแปลงมาจากชุดสีตรงข้าม   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น   แต่จะมีผลให้ความสดใส  ความสะดุดตา  และความเข้ากันของสีลดลงด้วย
          5.  ชุดสีตรงข้ามข้างเคียงทั้ง 2 ด้าน (Double  Split  Complementary  Color  Scheme) ดัดแปลงมาจากชุดสีตรงข้ามเช่นกัน   แต่สีตรงข้ามทั้ง 2 สีถูกแบ่งแยกเป็นสีด้านข้างทั้ง  2 ด้าน   และชุดสีแบบนี้มีความหลากหลายของสีที่มากขึ้น   แต่จะมีความสดใสและกลมกลืนของสีที่ลดลง
          6.  ชุดสีเย็น (Cool  Color  Scheme)  เว็บเพจที่ใช้โทนสีเย็น   ให้บรรยากาศคล้ายทะเล  รู้สึกเย็นสบาย
          7.  ชุดสีแบบสามเส้า (Triadic  Color  Scheme)  เป็นชุดสีที่อยู่ที่มุมของสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสาม   ซึ่งเป็นสีที่มีระยะห่างในวงล้อสีเท่ากัน   จึงมีความเข้ากันอย่างลงตัว
          8.  ชุดสีตรงข้าม (Complementary  Color  Scheme)  คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงล้อสี   เมื่อนำสีทั้งสองมาใช้คู่กัน   จะทำให้สีทั้งสองมีความสว่างและสดใสมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น